วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552

What is the eCPM: eCPMคือ อะไร(รวบรวมมา)

ตอนแรก ทำ AdSense
แล้วไปเห็น สิ่งหนึ่งในตัวรายงาน คือ eCPM
ผมก็สงสัยว่ามันคืออะไร
eCPMคือ
จากนั้นผมก็เริ่มหาคำตอบสักหน่อย จาก google ก็ได้คำตอบมาอย่างนี้ครับ

--------------------------------------------------------------------------
Click-Through-Rate คืออะไร
Click-Through-Rate(CTR) หรือ อัตราการคลิ๊กผ่านมีจุดมุ่งหมายในการวัดประสิทธิภาพของสารที่ส่งออกไป เช่นเดียวกับการวัดประสิทธิภาพของแบบนเนอร์ที่ลงในเราไปลงตามเว็บไซต์ วิธีการคำนวณค่า CTR นั้นทำได้โดย

CTR(อัตราการคลิ๊กผ่าน) = ( จำนวนคลิ๊กที่ผู้อ่านเมลล์คลิ๊กlinkในหน้านั้น ) x 100
จำนวน email ที่เราส่งออกไป


ตัวอย่าง - บริษัท ก. ส่ง email แนะนำสินค้าไปยังสมาชิก mailing list จำนวน 5,000 ฉบับ มีจำนวนสมาชิกที่คลิ๊กไปยังหน้าสินค้า จำนวน 2,575 ฉบับ เพราะฉะนั้น Open Rate ของ email แนะนำสินค้าจะเท่ากับ (2575/5000)x100 = 51.5 % จากตัวอย่างแสดงว่าในจำนวน email ที่ส่งออกไป 100 ฉบับ มีผู้ที่เปิดอ่านและคลิ๊ก link ใน email มีจำนวนเฉลี่ย 51.5 ฉบับนั่น

ที่มา : www.thinkandclick.com
------------------------------------------------------------
CPM (Cost Per Thousand) คืออัตราการแสดง Banner ต่อ 1000 ครั้ง นั้นว่าอาจจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับเว็บไทย โดยเรทของ CPM เมืองไทยอยู่ทีประมาณ 150 - 200 บาทต่อ CPM (คือ banner แสดงไป 1000 ครั้งก็จะคิดราคาประมาณ 150-200 บาทโดยจะเป็นการคิดจากอัตราการแสดงของ Banner ) แต่ทีผ่านมาการขายโฆษณาส่วนใหญ่ของเมืองไทยจะเป็นการคิดแบบเหมารวมเป็นราย เดือนมากกว่า ซึ่งเว็บไซต์บางเว็บในเมืองไทยก็ขายโฆษณาเป็น CPM ได้แก่ เว็บในเครือของบริษัท Mweb

www.webmaster.or.th
--------------------------------------------------------------------------------------
โฆษณาแบนเนอร์แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบคงที่ (Fixed) หมายความว่าคุณจองพื้นที่ลงโฆษณาบนหน้าเว็บเพจนั้นเลย อัตราค่าโฆษณาจะคิดแบบคงที่ ไม่คำนึงถึงจำนวนผู้เข้าชมเว็บ แต่มีข้อเสียคือ ไม่ว่าคนจะเข้าชมมากหรือน้อย ผู้ลงโฆษณาก็ต้องจ่ายเงินเท่ากัน ซึ่งไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ลงโฆษณา และในแง่ของเจ้าของเว็บไซต์แล้ว เว็บเพจนั้นจะจำกัดได้เพียงหนึ่งโฆษณาเท่านั้น

อีกแบบหนึ่งคือ แบบ Rotating หมายถึงการลงโฆษณาแบนเนอร์แบบสุ่มตัวอย่างให้ปรากฏในหน้าเว็บไซต์ต่างๆ หรือหน้าที่กำหนดเฉพาะ ในแต่ละหน้าจะปรากฏโฆษณาแบนเนอร์ที่ไม่ซ้ำกัน จะบ่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับแคมเปญที่ผู้ลงโฆษณาทำไว้ โดยอัตราค่าโฆษณาจะคิดตามจำนวนครั้งที่โฆษณาแบนเนอร์ปรากฏ (หรือที่เรียกกันว่า Impression) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมที่สุดและเป็นมาตรฐานสากลด้วย แบบ Rotating

ผู้ลงโฆษณาจะจ่ายค่าโฆษณาตามความเป็นจริงและในบางไซซ์สามารถระบุกลุ่มเป้าหมาย ตามอายุ อาชีพ เขตที่อยู่ของผู้ชมได้

มี คำถามเกิดขึ้นมาว่า แล้วจะหาโฆษณาที่ไหนมาลงเว็บไซต์ของเรา ผมขอแนะนำ 3 วิธีกว้างๆ นะครับ วิธีแรก คุณวิ่งหาโฆษณาเอง ติดต่อลูกค้าโดยตรง โดยคิดค่าลงโฆษณาเป็นแบบคงที่หรือเป็นแบบ Rotating ก็ได้ ถ้าลงโฆษณาแบบ Rotating ก็จะคิดอัตราค่าโฆษณาเป็นต่อ 1,000 ครั้งที่เห็นโฆษณา หรือ Impression ซึ่งจะกำหนดหน่วยเป็น CPM (Cost-Per-Thousand) หรือราคาต่อการเห็นโฆษณา 1,000 ครั้ง

เช่น กำหนดราคา CPM เท่ากับ 250 บาท คุณตกลงกับลูกค้าว่าแคมเปญนี้จะลงโฆษณาแบนเนอร์ทั้งหมด 100,000 Impressions ภายในหนึ่งเดือน พอถึงสิ้นเดือนคุณก็คิดเงินลูกค้า 25,000 บาท ด้วยวิธีแรกนี้ คุณจะต้องมีทีมลูกค้าสัมพันธ์เป็นของตัวเอง คุณจะต้องมีชุดนำเสนอเว็บไซต์ของคุณด้วย ซึ่งผมคงจะไม่แนะนำวิธีนี้กับเว็บไซต์หน้าใหม่ครับ เพราะค่าใช้จ่ายจะสูงและเหนื่อยมากครับ

วิธีที่สองคือ ติดต่อบริษัทหรือเอเย่นต์รับหาโฆษณาแบนเนอร์มาลงเว็บไซต์คุณ โดยวิธีนี้คุณก็ไม่จำเป็นต้องมีทีมลูกค้าสัมพันธ์ของตัวเอง แต่ต้องมีชุดนำเสนอเว็บไซต์ของคุณ และต้องเสียค่าคอมมิสชั่นให้กับบริษัทที่หาโฆษณาแบนเนอร์ให้ ส่วนการคิดค่าลงโฆษณาก็จะเหมือนกับวิธีแรกคือ แบบคงที่ และแบบ Rotating

วิธี สุดท้าย ซึ่งเป็นที่ฮิตมากสำหรับเว็บไซต์หน้าใหม่ คือการใช้บริการจากเว็บไซต์โฆษณาแบนเนอร์ เช่น www.click2net.com, www.eads.com, www.doubleclick.com เป็นต้น เว็บไซต์บริการเหล่านี้จะหาผู้ลงโฆษณาแทนคุณ โดยเขาจะได้รับผลต่างระหว่างอัตราค่าโฆษณาที่ผู้ลงโฆษณาจ่ายกับอัตราค่า บริการที่จะเสียให้กับเว็บไซต์ที่นำโฆษณาแบนเนอร์นั้นไปลง ขั้นตอนง่ายๆ คือ คุณจะต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเว็บไซต์บริการเหล่านี้ก่อน โดยการระบุชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ชื่อเว็บไซต์ URL หมวดหมู่เว็บไซต์ของคุณ จากนั้นรอการยืนยันการเป็นสมาชิกผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่คุณระบุไว้ พร้อม User Name และ Password โดยเขาจะตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณมีจริงมั้ย เนื้อหาดีมั้ย รูปแบบเป็นอย่างไร อะไรเหล่านี้ เป็นต้น

คุณต้อง ตรวจสอบก่อนด้วยครับว่า เว็บไซต์บริการนั้นรับเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษด้วยหรือเปล่า จากนั้นคุณก็ไปเว็บไซต์บริการนั้นอีกครั้ง เพื่อรับ Source Code หรือชุดคำสั่ง นำมาลงในเว็บไซต์ของคุณ ตรงตำแหน่งที่คุณจะให้โฆษณาแบนเนอร์ปรากฏ รายได้ที่คุณจะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนคลิกที่ผู้ชมเว็บไซต์คลิก โดยทั่วไปแล้วจะประมาณ 6-7 เซนต์ หรือประมาณ 2.50 บาทต่อการคลิกโฆษณาแบนเนอร์แต่ละครั้ง คุณสามารถตรวจสอบจำนวนคลิกและรายได้ประจำเดือนได้ตลอดเวลาผ่านเว็บไซต์คุณ จะได้รับเช็คเงินสดทุกสิ้นเดือน คุณอาจจะสงสัยว่าแล้วมันจะคุ้มกับการทำเว็บไซต์มั้ย เรามาลองคำนวณกันง่ายๆ นะครับ

สมมติว่าคุณทำเว็บไซต์ มีคนเข้าชมวันละ 3,000 คน ให้เฉลี่ยคนหนึ่งเข้าเว็บไซต์คุณแล้วไปหน้าเว็บเพจต่างๆ คนละ 5 หน้า จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเทคนิคการจัดทำเว็บไซต์คุณ คุณจะได้ 3,000 คนต่อวัน x 5 หน้า x 30 วัน เท่ากับ 450,000 หน้าต่อเดือน หรือเท่ากับจำนวนครั้งที่โฆษณาแบนเนอร์ของคุณปรากฏ ซึ่งเท่ากับ 450,000 Impression ต่อเดือน และจะเกิดคำถามขึ้นว่าแล้วเจ้าของเว็บไซต์จะได้เงินเท่าไรกันล่ะ ?

ผม จะใช้ค่า CTR (Click Through Rate) มาคำนวณรายได้ ค่า CTR คือ เปอร์เซ็็นต์ที่ผู้ชมคลิกที่โฆษณาแบนเนอร์ เช่น ถ้าโฆษณาแบนเนอร์ของคุณปรากฏ 1,000 ครั้ง และมีผู้ชมคลิกที่โฆษณาแบนเนอร์ของคุณ 150 ครั้ง ค่า CTR จะเท่ากับ 1.5% โดยทั่วไปค่ามาตรฐานของ CTR สำหรับโฆษณาแบนเนอร์จะอยู่ที่ค่าระหว่าง 1.0-4.0% ในกรณีนี้ผมใช้ค่า CTR เท่ากับ 2% แสดงว่าเจ้าเว็บไซต์นี้จะได้รายรับ 2% x 450,000 Impression x 6 เซนต์ เท่ากับ 540 ดอลลาร์ หรือประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งก็ไม่น้อยนะครับ แต่การทำให้ได้ 3,000 คนต่อวันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ

ที่มา : http://thaitelecom.com/pub2004/article.php...rd=&Searchtype=
-------------------------------------------------------------------------------
Page eCPM คือ Effective CPM จ้า ถ้าจะให้พูดภาษาชาวบ้านคือ ตัวเลขรายได้ถ้าเทียบเป็น CPM จ๊ะ

สมมติ ว่าเราแสดงแบนเนอร์ 10,000 ครั้ง ได้ 20 คลิก คิดเป็นเงิน 100 บาท แสดงว่าเราได้เงินประมาณ คลิกละ 5 บาท หรือประมาณ 10 บาท CPM จ๊ะ

การที่ Google ช่วยสรุปค่า eCPM มาให้เราเพราะว่าเราจะได้ดูได้ว่าลงโฆษณากับ Google แล้วคุ้มหรือไม่

ปกติ แล้วค่า eCPM น่าจะอยู่ที่ประมาณ $0.1 - $1 ใครได้มากกว่านั้นถือว่าโชคดี หรือถ้าจะให้เทียบคือประมาณ 4 - 40 บาท ต่อการแสดงแบนเนอร์ 1,000 ครั้ง

http://ptc.icphysics.com/webboard/SFM/index.php?topic=8415.0
-------------------------------------------------------------------------------------
page impression = จำนวนคนเข้ามาดูหน้าเว็บเพจที่ติดโฆษณาของgoogle
CTR = เปอร์เซ็นต์ในการคลิก (จำนวนคลิก*100/จำนวนคนเข้าเว็บเพจ)
eCPM = เงินที่ได้โดยเฉลี่ยต่อผู้เข้ามาชม 1000 คน (earning*1000/page impression)

CTR ---- Click Through Rate คือ วิธีหนึ่งในการประเมิณผลความสำเร็จของการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต ค่า CTR สามารถคำนวณได้จาก นำจำนวนคลิ้กทั้งหมด หารด้วย จำนวนที่โฆษณาถูกแสดง แล้วคุณด้วย 100

eCPM ---- Effective Cost per Mille (Mille เป็นภาษาลาติน แปลว่า จำนวนพัน) ถูกใช้ในการประเมินค่าประสิทธิภาพความสำเร็จของ*การขาย ซึ่ง **การขายในที่นี้มีทั้งหมด 3 ชนิดคือ CPA, CPC และ CPT บางกลุ่มเรียกว่ามูลค่าการขาย ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำเสนอ 1000 ครั้ง

ที่มาhttp://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,11787.0.html
-----------------------------------------------------------------------------------
Page CTR

CTR ย่อมาจาก Click-through-rate ซึ่งคิดได้จาก (Click/Page impressions)*100

หรือ ก็คือจำนวนคลิกต่อจำนวนครั้งที่เว็บของคุณแสดง Ads นั้นเอง เช่น มี 5 คนคลิก Ads จาก 100 คนที่เปิดหน้าเวบของคุณก็จะได้ว่า (5/100)*100 = 5% นั้นเอง ค่านี้สามารถจะเป็นได้ตั้งแต่ 0.1% ถึง 30 % แต่ส่วนมากจะอยู่ที่ 1% ถึง 10% ถ้ามากเกิน 20% จะเข้าข่ายน่าสงสัย
ที่มา http://ptc.icphysics.com/webboard/SFM/index.php?topic=8415.0
--------------------------------------------------------------------------------------
ค่า eCPM นั้นสำคัญไฉน

ค่า eCPM = effective Cost per 1,000 impressions ซึ่งไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากนักสำหรับ Publisher อย่างเรา ๆที่จะสนใจ แค่เป็นค่าที่ Page impression หารด้วย รายได้ ซึ่งก้จะเป็นราคาของการแสดง โฆษณา ต่อ 1,000 ครั้งครับ เช่น ถ้าคุณมีรายได้ 50 เหรียญ จากการมีผู้เข้าชมเว็บทั้งหมด 4,000 ครั้ง ก็จะคิดเป็น 50 หารด้วย 4.00 (ไม่ใช่ 4000) = 12.5 ครับ
ที่มา http://money-of-trip.blogspot.com/2008/09/ecpm.html
----------------------------------------------------------------

มีหลายท่านในคำอธิบายหลายๆแบบนะครับ

หว้งว่า คงมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่สนใจนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น